Banner Travelgogogo

พิพิธภัณฑ์สงครามอักษะ และเชลยศึก

เวลาที่เราเข้าไปเที่ยวยังสถานที่สำคัญ ที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์มันอาจดูน่าเบื่อ

เพราะบางที่ก็มีแต่เรื่องราวที่ไม่น่าสนใจ แต่มันจะไม่เกิดขึ้นกับ “พิพิธภัณฑ์สงครามอักษะ และเชลยศึก”

ที่ตั้งอยู่ใกล้กับ วัดไชยชุมพล ที่ “จ. กาญจนบุรี” แน่ ๆ เพราะกว่าที่การก่อสร้างจะเสร็จมีเรื่องราวน่าเศร้ามากมาย

พิพิธภัณฑ์สงครามอักษะ และเชลยศึก

ขอบคุณภาพจาก : thailandtourismdirectory

ถ้าชื่อสถานที่นี้เป็นภาษาไทยอย่างเดียว ก็คงไม่สามารถทำให้ชาวต่างชาติสนใจได้ ดังนั้น มันจึงได้มีการตั้งชื่อ

เป็นภาษาอังกฤษ โดยใช้ชื่อว่า The JEATH War Museum” และที่นี่ก็เป็นสถานที่เพื่อระลึกถึงเหล่าเชลยศึก

ที่ต้องเสียชีวิตไป ระหว่างการก่อสร้าง ทางรถไฟสายมรณะ ที่ฟังแล้วค่อนข้างหดหู่อยู่เหมือนกัน

JEATH

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมจึงมีคำว่า JEATH” มาคั่นรวมอยู่ในชื่อด้วย นั่นเป็นเพราะว่าในการก่อสร้าง

ทางรถไฟสายมรณะ มีความเร่งรีบ จึงจำเป็นต้องใช้เชลยศึกจากประเทศต่าง ๆ มาช่วยกันทั้งญี่ปุ่น,

อังกฤษ, ออสเตรเลีย, อเมริกา, ไทย และฮอลแลนด์ ซึ่งตัวย่อก็มาจากตัวอักษรแรกของแต่ละประเภทนั่นเอง

พิพิธภัณฑ์สงครามอักษะ และเชลยศึก

ขอบคุณภาพจาก : thailandtourismdirectory

การเก็บหลักฐานทางประวัติศาสตร์

เพราะฉะนั้นที่นี่จึงเป็น การเก็บหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ดีอีกที่หนึ่ง เพราะมันมีทั้งภาพถ่าย,

ภาพเขียน รวมไปถึงเครื่องมือที่ถูกใช้ในสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือช่าง, ข้าวของเครื่องใช้

รวมไปถึงพวกอาวุธชนิดต่าง ๆ ที่ยังคงมีอนุรักษ์ไว้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งไม่ควรไปจับต้องให้เกิดความเสียหาย

การจัดแสดง

ในส่วนของ การจัดแสดง อาจจะไม่ใช่การเดินดูตามตึกแบบ พิพิธภัณฑ์ ทั่วไป เพราะที่นี่จะจำลองทุกอย่าง

ให้เหมือนกับอยู่ในสถานที่จริง และมันก็เป็นที่สนใจของชาวต่างชาติ ซึ่งมันจะทำให้ได้บรรยากาศของสมัยนั้นมากกว่า

หากใครไม่แน่ใจว่าสิ่งตรงหน้าเหมือนกับของจริงหรือไม่ ก็สามารถเทียบกับภาพถ่ายดูได้เลย

พิพิธภัณฑ์สงครามอักษะ และเชลยศึก

ขอบคุณภาพจาก : thailandtourismdirectory

ที่พักเชลยศึก

ความสบายไม่เคยเกิดขึ้นในยุคนั้น แม้กระทั่งการนอน เพราะในส่วนของ ที่พักเชลยศึก ก็มีแค่การสร้างด้วยไม้ไผ่

แล้วใช้จากมุงหลังคา ซึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนแรก ส่วนต่อมาจะแสดงภาพที่ถ่ายทอดการใช้ชีวิต

และส่วนสุดท้ายเป็นการแสดงเครื่องใช้ ที่เชลยศึกนำมาแลกเปลี่ยนในเวลาที่อาหารไม่เพียงพอต่อความหิว

เวลาในการเข้าชม

หากใครที่ว่าง ๆ แล้วอยากหาความรู้ใส่ตัวเพิ่ม สามารถเดินทางมาที่นี่ได้ทุกวัน ส่วน เวลาในการเข้าชม

จะเริ่มตั้งแต่ 8.30 น. – 16.30 น. ซึ่งจะมีการเรียกเก็บค่าเข้า 2 ประเภท คือ ราคาชาวต่างชาติ

จะอยู่ที่ 50 บาท และชาวไทยจะอยู่ที่ 10 บาท แต่ถ้ามาเป็นคณะก็จะมีการลดราคาให้ด้วย

ที่มา : kanchanaburi

นักเขียน : Benjawirar